Bangpakok Hospital

Healthy Weight คุมน้ำหนัก กระชับสัดส่วน

25 ก.ย. 2566

        การพยายามควบคุมน้ำหนักอย่างไม่ถูกวิธี อาทิ การอดอาหาร งดอาหารจำพวกแป้งและไขมันแบบตัดขาด รับประทานเพียงมื้อใดมื้อหนึ่ง รับประทานแต่ผักและผลไม้รวมไปถึงพฤติกรรมหรือปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลเสียเช่น การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา หรือความเครียด สิ่งเหล่านี้กลับยิ่งส่งผลกระทบต่อร่างกายโดยตรง เพราะถึงน้ำหนักะจะลดแต่ก็เสี่ยงกับภาวะขาดสารอาหาร และส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง ซึ่งทำให้มีความอยาก ความโหยหาเพิ่มขึ้น จนนำไปสู่การรับประทานอาหารมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังส่งผลให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานได้น้อยลง ไม่มีปะสิทธิภาพ จึงเป็นที่มาของคำว่า “ยิ่งลด ยิ่งอด ยิ่งอ้วน”  ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพจนอาจก่อให้เกิดโรคร้าย อาทิ

  • โรคเบาหวาน
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคหัวใจขาดเลือด
  • โรคมะเร็ง
  • โรคข้อเข่าเสื่อม
  • ไขมันในเลือดสูง , ไขมันพอกตับ
  • ปัญหาหยุดหายใจขณะนอนหลับ (เนื่องจากเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ)

 แบบไหนเรียกว่า “อ้วน”

    ก่อนอื่นต้องมาวิเคราะห์เบื้องต้นกันก่อนว่า แต่ละคนมีรูปร่างอย่างไร ซึ่งค่า BMIจะสามารถบ่งบอกได้ว่าคุณมีภาวะผอมเกินไป , สมส่วนตามมาตรฐาน , น้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน โดยใช้วัดในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับค่า BMIที่หลายท่านคุ้ยหูแต่ยังไม่ทราบรายละเอียดกันก่อนดีกว่า ค่า BMIคือ ค่าดัชนีที่ใช้ชี้วัดความสมดุลของน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) และส่วนสูง (เซนติเมตร) ซึ่งนำมาใช้เป็นสูตรที่จะหาได้ว่าตอนนี้คุณมีรูปร่างที่สมส่วนหรือไม่

   ควบคุมน้ำหนักด้วยวิธีไหนดี

          ปัจจุบันมีวิธีควบคุมน้ำหนักอย่างปลอดภัยภายใต้การควบคุมดูแลโดยแพทย์มีหลากหลายวิธีด้วยกัน อาทิ การรักษาด้วยยาภายใต้
การดูแลของแพทย์,

          การดูดไขมัน/ตัดไขมัน (เหมาะกับผู้ที่มีค่า BMI 30 ขึ้นไป ), การใส่บอลลูนกระเพาะอาหาร (เหมาะกับผู้ที่มีค่า BMI 27-29 ) ฯลฯ และในปัจจุบันยังมีอีกหนึ่งทางเลือกในการควบคุมน้ำหนัก ไม่กลับมาโยโย่อีก นั่นก็คือ “ยาฉีดควบคุมความหิว”

   ทำความรู้จักกับ “ตัวช่วยควบคุมความหิว”

          ยาฉีดควบคุมความหิวเป็นการฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนังส่งผลให้รู้สึกอิ่มนาน หิวน้อยลง กินน้อยลง ลดการกินจุกจิกระหว่างวัน ลดการผลิตน้ำตาลที่ตับ ช่วยเพิ่มความไวของอินซูลินบริเวณตับอ่อนและกล้ามเนื้อ

          ยาช่วยในการควบคุมน้ำหนักภายใต้การดูของทีมแพทย์และนักโภชนาการ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหารแบบยั่งยืนและที่สำคัญต้องทำควบคู่ไปกับการคุมอาหารและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จึงจะช่วยให้ประสิทธิภาพในการควบคุมน้ำหนักดียิ่งขึ้น

   “ตัวช่วยควบคุมความหิว” เหมาะกับใคร

  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรือภาวะโรคอ้วน
  • มีปัญหาสุขภาพที่เกิดจากน้ำหนักเกินมาตรฐาน เช่น เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดผิดปกติ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจขณะนอนหลับ (หยุดหายใจขณะหลับเนื่องจากเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ) เป็นต้น
  • ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักแต่ไม่อยากผ่าตัด
  • ผู้ที่ต้องการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร

        ยาฉีดควบคุมความหิว ไม่เหมาะ กับผู้ที่มีประวัติการแพ้ยา Liraglutide, ผู้ที่เป็นโรคไทรอยด์, ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ, ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18ปี และอายุ 75ปีขึ้นไป, หญิงตั้งครรภ์หรือวางแผนตั้งครรภ์ และผู้ที่ใช้ยาเบาหวาน หรือยาที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด รวมไปถึงผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของตับ ไต ลำไส้และกระเพาะอาหารควรปรึกษาแพทย์ก่อน

     อยากใช้ “ตัวช่วยควบคุมความหิว” ต้องทำอย่างไรบ้าง

          ยาฉีดควบคุมความหิว เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน หรือภาวะโรคอ้วน โดยก่อนรักษาจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกาย รวมไปถึงตรวจเลือดเพื่อดูไขมันในเลือด, การทำงานของตับ ไต และฮอร์โมนในร่างกาย ควรใช้ยาฉีดควบคุมความหิวจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

      อาการข้างเคียง

         โดยส่วนใหญ่อาการที่เกิดขึ้นหลังฉีดยาได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือท้องผูก ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเพียงช่วงสัปดาห์แรก ๆ ที่ได้รับยา และอาการจะหายได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์ เมื่อได้รับยาอย่างต่อเนื่อง

       ผลลัพธ์หลังการใช้ตัวช่วยควบคุมความหิว

     หลังการใช้ยาในช่วงวันแรก ๆ คุณจะเริ่มรู้สึกอยากอาหารน้อยลง อิ่มไวและอิ่มนานขึ้น เมื่อคุมหิวได้นานขึ้นก็จะส่งผลให้ทานอาหารได้น้อยลงอย่างต่อเนื่อง และมีผลให้น้ำหนักลดลงตามด้วย

 

สอบถามข้อมูลหรือแพ็กเกจได้ที่ BPK Wellness

โทร. 0-2109-2222 ต่อ 20200




Go to top
Copyright © 2015 Bangpakok Hospital All rights reserved.