Bangpakok Hospital

5 กลุ่มโรคยอดฮิตในเด็ก มาพร้อมกับฤดูฝน

29 พ.ค. 2566


           เข้าสู่ช่วงฤดูฝนอากาศเริ่มเย็นลงและมีความชื้นเพิ่มทำให้เชื้อโรคหลายชนิดสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายขึ้นโดยโรคที่พบบ่อยส่วนมากในช่วงฤดูฝนมีหลายกลุ่มได้แก่ กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจกลุ่มโรคติดต่อทางน้ำดื่มและอาหาร กลุ่มโรคที่มียุงเป็นพาหะ กลุ่มโรคติดเชื้อทางบาดแผลและเยื่อบุผิวหนัง รวมถึงโรคมือเท้าปากที่มักพบบ่อยในเด็กมาทำความรู้จักกับโรคเหล่านี้เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันดูแลสุขภาพตนเอง

    กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ

      สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากการได้รับเชื้อไวรัสและแบคทีเรียในอากาศโดยเชื้อสามารถแพร่กระจายได้ง่ายมากผ่านการสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนกับเชื้อไวรัสหรือสัมผัสกับน้ำมูกที่ปนเปื้อนเชื้อโรค

  • โรคไข้หวัดหรือไข้หวัดทั่วไป (Common Cold) พบได้ตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในช่วงหน้าฝนมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อกว่า200 ชนิดอาการสามารถหายได้เองใน3 – 4 วันหากผู้ป่วยดูแลตนเองอย่างถูกต้อง
  • โรคไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) โดยเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลสามารถจำแนกออกเป็น3ชนิดโดยสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยที่มีอาการรุนแรงคือชนิดA และB ส่วนสายพันธุ์ชนิดC มักไม่รุนแรงไข้หวัดใหญ่จะแสดงอาการไข้สูงปวดหัวปวดเมื่อยตามตัวอาจมีกล้ามเนื้ออักเสบและอาการทางระบบหายใจตั้งเเต่น้ำมูกไอมากหรือหากรุนเเรงอาจมีอาการหอบเหนื่อยปอดอักเสบเสียชีวิต

     วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่4 สายพันธุ์ฉีด1 เข็มต่อปีเพื่อป้องกันและกระตุ้นภูมิคุ้มกันลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนและลดอัตราการเสียชีวิต

  • โรคปอดอักเสบ (Pneumonia)เกิดจากการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างเกิดได้จากทั้งเชื้อแบคทีเรียเชื้อไวรัสและเชื้อราที่พบโดยส่วนใหญ่จะเกิดจากเชื้อแบคทีเรียStreptococcus Pneumonia หรือเชื้อนิวโมคอคคัสโดยโรคปอดอักเสบนี้จะมักเป็นอาการต่อเนื่องมาจากไข้หวัดใหญ่ปอดอักเสบป้องกันได้ด้วย“การฉีดวัคซีน”

       กลุ่มโรคติดต่อทางน้ำดื่มและอาหาร

    สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่ไม่สะอาดหรือมีการปนเปื้อนเชื้อโรคทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารและลำไส้

  • โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันเกิดจากการที่รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อโรคการไม่ล้างมือให้สะอาดใช้มือหยิบจับของที่ปนเปื้อนเชื้อแล้วนำเข้าปากส่งผลให้เกิดภาวะถ่ายอุจจาระเหลว3 ครั้งติดต่อกันหรือมากกว่าใน1 วันหรือถ่ายเป็นน้ำจำนวนมากและอาจมีอาเจียนร่วมด้วย
  • โรคบิดเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรียหรืออะมีบาซึ่งสามารถติดต่อผ่านการรับประทานอาหารผักดิบรวมถึงน้ำที่มีการปนเปื้อนโดยผู้ป่วยจะมีอาการถ่ายอุจจาระบ่อยหรือมีมูกเลือดปนและมักมีไข้ด้วย
  • โรคตับอักเสบเป็นภาวะที่ตับมีอาการอักเสบและติดเชื้อซึ่งโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นไวรัสตับอักเสบชนิดA B C D และE โดยจะมีลักษณะการติดต่อที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสายพันธุ์โดยอาการตับอักเสบเกิดได้จากหลายสาเหตุสาเหตุที่พบบ่อยมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส
  • โรคอาหารเป็นพิษเกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียรวมถึงอาหารที่ปรุงสุกๆดิบๆผู้ป่วยจะมีอาการท้องร่วงคลื่นไส้ปวดท้องลำไส้อักเสบและอาจมีไข้ปวดศีรษะร่วมด้วย

      กลุ่มโรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผลและเยื่อบุผิวหนัง

  • โรคฉี่หนูหรือเลปโตสไปโรสิส (Leptospirosis) เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนโดยมีหนูหรือสัตว์ฟันแทะเป็นพาหะหลักเชื้อถูกปล่อยออกมากับปัสสาวะที่ปนเปื้อนอยู่ตามน้ำดินที่เปียกชื้นเชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังตามรอยแผลรอยขีดข่วนและเยื่อบุของปากตาจมูก
  • โรคตาแดง – โรคเยื่อบุตาอักเสบส่วนใหญ่ติดต่อจากการสัมผัสหรืออาจเกิดจากการเด็กมีโรคประจำตัวอื่นอยู่ก่อนแล้วเช่นโรคภูมิแพ้ทำให้มีอาการคันตาขยี้ตาบ่อยๆจนเกิดอาการตาอักเสบและติดเชื้อตามสำหรับคุณพ่อคุณแม่เมื่อพบว่าลูกเป็นตาแดงควรรีบพาไปพบแพทย์ไม่ควรซื้อยาทาหรือหยอดตาเอง

        กลุ่มโรคที่มียุงเป็นพาหะ

      โรคติดต่อที่เกิดจากยุงไม่ว่าจะเป็นยุงลายยุงก้นปล่องยุงรำคาญเป็นพาหะ

  • โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่ระบาดหนักมากในช่วงฤดูฝนโดยมีจำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโรคนี้เพิ่มขึ้นทุกปีโรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคซึ่งพบได้ในทุกกลุ่มอายุอาการของโรคไข้เลือดออกแม้จะไม่รุนแรงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนทำให้เสียชีวิตได้
  • โรคไข้มาลาเรียหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ไข้ป่า”มียุงก้นปล่องเป็นหาพะโดยมีแหล่งเพาะพันธุ์อยู่แถวๆบริเวณเขาสูงป่าทึบสวนยางพาราแหล่งน้ำธรรมชาติโดยอาการโรคมาลาเรียผู้ป่วยมักเริ่มแสดงอาการภายใน 10 – 28 วันหลังจากเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด
  • โรคไข้สมองอักเสบเจอีเกิดจากเชื้อไวรัสเจอีที่สมองมี “ยุงรำคาญ”เป็นพาหะยุงชนิดนี้มักแพร่พันธุ์ในนาข้าวพบมากที่สุดในประเทศไทยผู้ป่วยจะแสดงอาการหลังได้รับเชื่อ5-15 วันโดยระยะแรกจะมีไข้สูงอาเจียนเวียนศีรษะและอ่อนเพลียในช่วงที่อาการรุนแรงเป็นช่วงที่อาจเสียชีวิตได้จะมีอาการทางสมองเช่นคอแข็งสติลดลงเพ้อคลั่งชักหมดสติและเป็นอัมพาตในที่สุด
  • โรคชิคุนกุนยา – โรคไข้ปวดข้อยุงลายเป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไวรัสโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยแม้กระทั่งในเด็กเล็กโรคนี้จะมีอาการคล้ายกับโรคไข้เลือดออกแต่ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือดจึงไม่พบผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงมีอาการช็อก
  • โรคติดเชื้อไวรัสซิก้า (Zika Fever)เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไวรัสซิกาที่มียุงลายเป็นพาหะในการแพร่เชื้อผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการรุนแรงในคนปกติแต่ต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหญิงตั้งครรภ์ซึ่งอาจมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่ส่งผลให้ทารกมีภาวะสมองพิการแต่กำเนิดทำให้ทารกมีกะโหลกศีรษะและสมองที่เล็กกว่าปกติส่วนในรายที่ติดเชื้ออย่างรุนแรงอาจส่งผลให้เกิดภาวะสมองอักเสบเฉียบพลันหรือโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งโรคไข้ซิกาส่วนใหญ่ป่วยแล้วสามารถหายได้เองโดยหากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาการเหล่านี้จะทุเลาเลงภายในเวลา 2–7 วัน

       โรคมือเท้าปาก

           โรคมือเท้าปาก (Hand Foot and Mouth Disease)เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กเล็กโดยเฉพาะช่วงหน้าฝนและสามารถพบโรคมือเท้าปากในผู้ใหญ่ได้เช่นกันแต่อาการมักจะไม่รุนแรงเท่าในเด็กเล็กเป็นโรคที่มีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโรส่งผลให้มีอาการเป็นไข้เป็นแผลในปากมีตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือฝ่าเท้าและลำตัวถือได้ว่าเป็นโรคที่สร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่อยู่ไม่น้อย

Go to top
Copyright © 2015 Bangpakok Hospital All rights reserved.