Bangpakok Hospital

ซีเซียม 137 อันตรายแค่ไหน

22 มี.ค. 2566


อันตรายจากการสัมผัสสารกัมมันตรังสี

       ได้รับอันตรายมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณของรังสีชนิดของรังสีที่ได้รับ อาการที่พบมีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน

   เบื่ออาหาร ถ่ายเหลว ผิวหนังบริเวณที่โดนรังสีจะเกิดแผลไหม้พุพอง ในกรณีสัมผัสปริมาณมากส่งผลกระทบต่อระบบเลือด กดไขกระดูก   
   ระบบประสาท ชักเกร็งและอาจเสียชีวิตได้

ข้อควรปฏิบัติหลังการสัมผัส

  1. ลดการปนเปื้อน โดยการล้างตาให้น้ำไหลผ่านจากหัวตาไปทางหางตาด้วยน้ำสะอาด ล้างมือ

สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที และควรเก็บเสื้อผ้าใส่ถุงปิดปากให้สนิทเพื่อตรวจสอบว่ามีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีหรือไม่

  1. ไปลงทะเบียนยังหน่วยงานที่กำหนดให้มีการลงทะเบียนผู้สัมผัสหรืออยู่ในเหตุการณ์เพื่อการเฝ้าระวังสุขภาพและควบคุมการแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสี
  2. ห้ามหยิบจับวัตถุทุกชนิด ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม ห้ามนำหรือสัมผัสบริเวณภายในพื้นที่ที่เจ้าหน้าที่ได้กำหนดไว้ให้เป็นพื้นที่อันตราย

การป้องกันและการปฏิบัติตน

  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารกัมมันตรังสีหรือกล่องเหล็กต้องสงสัย
  2. ถ้าอยู่ในที่เกิดเหตุให้ไปลงทะเบียนผู้สัมผัสสารกัมมันตรังสียังหน่วยงานที่กำหนด
  3. รวบรวมสิ่งของหรือเสื้อผ้าที่คาดว่าอาจมีการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบก่อนนำไปใช้
  4. ควรล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม
  5. ติดตามข้อมูลสถานการณ์การเกิดเหตุและปฏิบัติตามประกาศอย่างเคร่งครัด

ขอบคุณข้อมูล : กรมควบคุมโรค

Go to top
Copyright © 2015 Bangpakok Hospital All rights reserved.