Bangpakok Hospital

ภาวะ PTSD ผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด

11 ม.ค. 2566

  ภาวะ PTSD ผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด

       หลังจากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นั้น ๆ ไม่ได้มีเพียงแค่การสูญเสียทางร่างกายเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้ที่ประสบเหตุด้วย โดยหนึ่งในโรคที่สำคัญ คือ โรค PTSD หรือที่เรียกว่าโรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตราย เราลองมาทำความรู้จักกับที่โรคดังกล่าวว่าผู้ที่ป่วยจะมีอาการอย่างไร และมีวิธีการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างไรได้บ้าง

โรคทางจิตจากเหตุรุนแรง

โรค PTSD หรือ Post-Traumatic Stress Disorder เป็นโรคจิตเภทชนิดหนึ่งที่เกิดจากสภาวะจิตใจของผู้ป่วยได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงจากเหตุการณ์เลวร้าย เช่น การก่อการร้าย สงคราม การถูกข่มขืน ประสบภัยพิบัติ ประสบอุบัติเหตุ เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยอาจจะเป็นผู้ที่ประสบเหตุการณ์โดยตรง หรือเป็นผู้ที่ได้รับการสูญเสียจากเหตุการณ์ทางอ้อม

อาการของโรค PTSD

  • อาการเริ่มแรกของผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ คือ จะเห็นภาพเหตุการณ์นั้นซ้ำ ๆ ราวกับเครื่องเล่นวิดีโอที่ฉายแต่ภาพเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ทำให้ผู้ป่วยเห็นภาพหลอน ฝันร้าย และเกิดความวิตกกังวลอย่างรุนแรง
  • เกิดอาการ flash back คือ ผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนว่าตัวเองกำลังอยู่ในเหตุการณ์นั้นซ้ำ ๆ จนเกิดความตื่นกลัว บางคนอาจมีอาการใจสั่น มือสั่น และเหงื่อออกมาก
  • เกิดอาการ flash back คือ ผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนว่าตัวเองกำลังอยู่ในเหตุการณ์นั้นซ้ำ ๆ จนเกิดความตื่นกลัว บางคนอาจมีอาการใจสั่น มือสั่น และเหงื่อออกมาก
  • เกิดอาการ flash back คือ ผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนว่าตัวเองกำลังอยู่ในเหตุการณ์นั้นซ้ำ ๆ จนเกิดความตื่นกลัว บางคนอาจมีอาการใจสั่น มือสั่น และเหงื่อออกมาก

ภาวะแทรกซ้อนจากโรค PTSD

  • โรคที่มีผลทางด้านจิตใจ เช่น โรคซึมเศร้า โรคกลัว โรควิตกกังวล เป็นต้น
  • พฤติกรรมที่เป็นอันตราย เช่น การหันมาใช้สารเสพติด หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรืออาจทำร้ายตนเอง เป็นต้น
  • อาการทางร่างกาย เช่น มีอาการปวดท้อง ปวดศีรษะ ปวดหน้าอก เป็นต้น

การรักษาภาวะ PTSD

การรักษาภาวะดังกล่าวมีด้วยกันหลายวิธีและต้องใช้เวลาในการรักษาเพื่อให้อาการดีขึ้นตามลำดับ

  • เรียนรู้และรับมือ ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวต้องพยายามเรียนรู้การจัดการกับความเครียด เช่น หากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลาย การออกไปพบปะผู้คน หรือทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว
  • ดูแลตนเองมากขึ้น ไม่ควรบริโภคของที่ไม่ดีต่อสุขภาพโดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่เสพสารเสพติด
  • การรับยาจากแพทย์ โดยแพทย์จะให้ยาที่สามารถลดความเครียดหรือช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ทั้งนี้การใช้ยาต่าง ๆ ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำและคำสั่งของแพทย์เท่านั้น
  • การบำบัด สามารถเข้าพบแพทย์เพื่อพูดคุยปรึกษาเพื่อปรับให้สามารถค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนความคิดได้
Go to top
Copyright © 2015 Bangpakok Hospital All rights reserved.