Bangpakok Hospital

6 โรคติดต่อที่มากับฤดูหนาว

29 พ.ย. 2566


     เมื่อย่างเข้าสู่ฤดูหนาว นอกจากลมหนาวที่รอคอยแล้ว ยังมีสิ่งที่เราไม่ได้รอคอยแฝงมาด้วย สิ่งนั้นคือ "โรคอันตราย" ที่ต้องพึงระวัง ในช่วงที่อากาศเย็นเป็นเวลาที่เอื้อต่อการอยู่รอดและแพร่กระจายของไวรัส

ดังนั้นเรามาทำความรู้จัก  6 โรคติดต่อที่มากับหน้าหนาว  เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับโรคต่างๆ และป้องกันการเจ็บป่วย เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง มาดูกันว่าโรคที่พบบ่อยในช่วงฤดูหนาวที่ควรระวังมีอะไรกันบ้าง

6 โรคที่มากับฤดูหนาว

  1. ไข้หวัด (common cold)

โรคไข้หวัดธรรมดา ซึ่งจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอจาม คันคอ เป็นอาการเด่น ไม่ค่อยมีไข้ และไม่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ

วิธีรักษา นอนพักผ่อนมากๆ เช็ดตัว และกินยาลดไข้

  1. ไข้หวัดใหญ่ (Influenza)

เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน เกิดจากเชื้อไวรัส Influenza ที่ทำให้เกิดอาการรุนแรง และ พบการแพร่ระบาดอยู่บ่อยๆ 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ A และสายพันธุ์ B ไข้หวัดใหญ่จะมีอาการ ไข้สูง ปวดศีรษะมาก ปวดเมื่อยตามตัวมาก อาจมีคลื่นไส้อาเจียน

วิธีรักษา ควรไปพบแพทย์ และกินยาตามแพทย์สั่ง นอนพักผ่อนมากๆ

  1. โรคปอดบวม หรือ ปอดอักเสบ (Pneumonia)

เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส ทำให้เกิดการอักเสบ จนมีหนองและสารน้ำในถุงลม ทำให้ร่างกายไม่สามารถรับออกซิเจนได้ อาการ ไข้ ไอ เสมหะมาก แน่นหน้าอกเหมือนหายใจไม่ออก หอบ หายใจเร็ว

วิธีรักษา ควรไปพบแพทย์

  1. โรคหัด (Measles)

เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส รูบีโอราไวรัส (rubeola virus) ติดต่อได้ทางลมหายใจ ไอจามรดกันโดยตรง หรือหายใจเอาละอองเสมหะที่ลอยอยู่ในอากาศเข้าไป

วิธีรักษา ควรพบแพทย์ และกินยาลดไข้

  1. หัดเยอรมัน (Rubella)

เกิดจากเชื้อไวรัส ชื่อ รูเบลลา (Rubella) มีอยู่ในน้ำมูก และน้ำลายของคนที่เป็นโรคนี้ เป็นโรคที่พบได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ อาการ จะมีไข้ต่ำๆ ร่วมกับผื่นเล็กๆ สีอ่อนๆ กระจายไปทั่ว เริ่มจากที่หน้าผาก ชายผม รอบปาก แล้วค่อยลามมาที่ลำคอ ลำตัว แขนขา มักจะหายได้เองภายใน 3-6 วัน

วิธีรักษา กินยาลดไข้ ทานยาแก้ผื่นคัน หากพบในหญิงตั้งครรภ์ระยะ 3 เดือนแรก ควรไปพบแพทย์

  1. โรคสุกใส (Chickenpox/Varicella)

ที่เกิดจากเชื้อไวรัส Varicella หรือ Human herpesvirus type 3 ซึ่งเป็นเชื้อตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคงูสวัด ติดต่อได้โดยการสัมผัสถูกตุ่มน้ำโดยตรง หรือถูกของใช้ของผู้ป่วยที่เปื้อนสารคัดหลั่งจากตุ่มน้ำของผู้ป่วย หรือหายใจเอาละอองของตุ่มน้ำเข้าไป

วิธีรักษา รักษาตามอาการ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากอาการป่วยในเวลาไม่นาน
Go to top
Copyright © 2015 Bangpakok Hospital All rights reserved.